เครื่องดนตรีล้านนา

20/04/2017 | เปิดอ่าน [post_view] | คอมเม้น 0

ในวันนี้ฮักเชียงรายของเราจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องดนตรีล้านนาที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาวเหนือพอสังเขป  โดยปกติแล้วเรามักจะเห็นวงดนตรีล้านนาได้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อความบันเทิง  ซึ่งการแสดงดนตรีล้านนานั้นส่วนมากมักจะแสดงพร้อมกับการฟ้อนรำ ด้วยทำนองที่ไพเราะอ่อนหวาน จึงทำให้ดนตรีล้านนาแตกต่างจากเครื่องดนตรีในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย

 

เครื่องดนตรีชนิดแรกที่จะนำเสนอนี้ถือเป็นตัวเอกของวงเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ “สะล้อ”

สะล้อ เป็นเครื่องสายประเภทสี มี  2 หรือ 3 สาย  บรรเลงโดยใช้คันชักสีกับสายที่ขึงบนตัวสะล้อ ลักษณะภายนอกคล้ายซออู้ของภาคกลาง กล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว สายทำจากเส้นเอ็นหรือโลหะ ด้วยเสียงที่เล็กแหลมเราจึงมักจะได้ยินเสียงสะล้อขึ้นนำก่อนที่เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงตาม

ซึง เป็นเครื่องสายประเภทดีด ประกอบด้วยสาย  4 สาย แบ่งเป็น 2 คู่ ทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง ใช้เขาสัตว์หรือพลาสติกบางในการดีด มีลักษณะเสียงนุ่มนวล สามารถเล่นเดี่ยว ๆ ได้ แต่มักนิยมเล่นในวงสะล้อซอซึง

ขลุ่ยและปี่  เป็นเครื่องเป่า มีหลายขนาดและจะมีเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่เสียงทุ้มต่ำจนถึงเสียงแหลมสูง ใช้บรรเลงร่วมกับวงสะล้อซอซึงและวงปี่พาทย์

กลอง  เป็นเครื่องตีให้จังหวะ มีหลายชนิดหลายขนาด หน้ากลองขึ้นด้วยหนังสัตว์  มีทั้งแบบหน้าเดียวและสองหน้า

พิณเปี๊ยะ ทำด้วยกะลามะพร้าว เป็นเครื่องสายประเภทดีด ใช้มือในการดีด ใช้กะลามะพร้าวครอบไว้กับหน้าอกขณะเล่น มีเสียงที่ก้องกังวาน  หนุ่นชาวเหนือมักใช้พิณเปี๊ยะในการบรรเลงจีบสาว ปัจจุบันหาผู้ที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้น้อยมาก